กาลครั้งหนึ่ง เมื่อญี่ปุ่นเกิดกระแส " ไม่เอาคันจิ" ตอนที่ 1 จากยุคเอโดะถึงยุคเมจิ | ANNGLE | LINE TODAY
- หมวดหมู่ : ไลฟ์สไตล์ วันที่ : 20 กรกฎาคม 2564
- เข้าดู : 277 ครั้ง

ในภูมิภาคเอเชียบูรพานั้นเราต้องยอมรับว่าตัวอักษรจีนและคำศัพท์ภาษาจีนนั้นมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อภาษาเขียนในดินแดนต่างๆ ที่ได้รับเอาวัฒนธรรมจีนเข้ามา ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ต่างก็รับเอาภาษาเขียนและตัวหนังสือของจีนเอาไปใช้ในภาษาของตน และอาจมีวิวัฒนาการและการดัดแปลงไปเพื่อให้เข้ากับภาษาเดิมของตน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็อาจทำให้ประเทศที่กล่าวมานี้เกิดกระแส ไม่เอาตัวหนังสือจีน ไม่ใช้ตัวหนังสือจีน ขึ้นมาได้ วันนี้จะมาขอเจาะรายละเอียดในกรณีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อเทียบกับเกาหลีและเวียดนามถือว่าเป็นประเทศที่ยังรักษาวัฒนธรรมการใช้ตัวอักษรจีนไว้ได้อยู่ แม้กระนั้นก็ยังเคยเกิดกระแสการไม่เอาคันจิมาแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้นขอเชิญติดตามอ่านกันได้เลยครับ
ญี่ปุ่นกับตัวคันจิในช่วงทศวรรษที่ 1980 เมื่อเริ่มมีการใช้แป้นพิมพ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การมีแป้นพิมพ์อาจจะสะดวกสบายสำหรับการพิมพ์ตัวคานะ แต่มันจะเป็นอย่างไรถ้าเราจะพิมพ์ได้แค่ตัวคานะแล้วก็พบว่ามีอักษรจีน (คันจิ ) และคำจีน (คันโกะ ) ที่พ้องเสียงกัน ดีไม่ดีอาจพ้องเสียงกันเป็น 4-5 คำ เช่น
เค็นโต
สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นคนยุคปัจจุบันที่ใช้แป้นพิมพ์ Japanese IME ใน Windows สมัยนี้ อาจไม่เห็นว่ามันจะยุ่งยากอะไร เพราะว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขอแค่เราพิมพ์ตัวคานะ คอมพิวเตอร์ก็พร้อมที่จะเด้งตัวเลือกตัวคันจิหรือคันโกะที่มีให้เลือกแล้วเราก็เลือกเอาตามต้องการ แต่ถ้าเรานึกไปถึงเทคโนโลยีสมัยเก่าที่พิมพ์ได้แต่ตัวคานะล่ะ การจะมานั่งเดาคำจีนว่า เคนโต ตัวนี้หมายถึงอะไร (พิจารณา) หรือ (สู้กันด้วยหมัด) ล่ะ การนั่งอ่านประโยคที่มีแต่ตัวคานะอย่างเดียวคงน่าปวดหัวไม่น้อยใช่ไหมครับ
ญี่ปุ่นเริ่มไม่เอาตัวคันจิตั้งแต่เมื่อไหร่แนวคิดเรื่องการไม่เอาตัวคันจิของคนญี่ปุ่นนั้นมีมาตั้งแต่กลางยุคเอโดะแล้วครับ คาโมะ โนะ มาบุจิ ( ) นักวิชาการสาย วิชาแห่งชาติ (โคคุงาคุ ) เคยวิจารณ์เรื่องที่ว่า ตัวคันจิมีตัวหนังสือเยอะ ไว้ในหนังสือ โคคุอิโค ( พินิจจิตของชาติ ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าลัทธิขงจื้อและพุทธศาสนานั้นเป็น แนวคิดของพวกต่างชาติ และเรียกร้องให้ผู้คนกลับไปหาจิตวิญญาณของญี่ปุ่น) ทั้งยังเชิดชูตัวคานะด้วย ในกรณีนี้อาจมองได้ว่ากระแสความคิดเรื่องการไม่เอาคันจินั้นมีที่มาจากแนวคิดชาตินิยม (ซึ่งเป็นเหตุผลคล้ายๆ กับเหตุผลที่คนเกาหลีไม่เอาตัวฮันจา)